บทที่3 การจัดการข้อมูลด้วยระบบ คอมพิวเตอร์

1. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้ ดังนี้1.1 การแยกประเภทข้อมูล (Data classifying) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาทำการแยกประเภท ตัวอย่างเช่น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใบส่งสินค้า จึงนำมาแยกประเภทเป็นใบรับสินค้าและใบส่งสินค้า
1.2 การเรียงลำดับข้อมูล (Data Sorting) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาจัดเรียงลำดับ ตัวอย่างเช่น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใบรับสินค้า และใบส่งสินค้า หรืออาจจัดเรียงลำดับ เช่น จัดเรียงลำดับตามเลขที่ใบรับสินค้า เลขที่ใบส่งสินค้า หรืออาจจัดเรียงลำดับตามวันที่ของใบรับสินค้า และจัดเรียงลำตามวันที่ของใบส่งสินค้า
1.3 การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาทำการคำนวณ เช่น จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใบรับสินนค้า ใบส่งสินค้าแล้ว จึงนำมาการคำนวณยอดรวมจำนวนเงินจากใบรับสินค้าและคำนวณยอดรวมจำนวนเงินจากใบส่งสินค้าในแต่ละวัน
1.4 การสรุป (Summary) เป็นขั้นตอนการจัดทำสรุป เช่น จากการคำนวณยอดรวมจำนวนเงิน จากใบรับสินค้าและใบส่งสินค้าในแต่ละวัน จะสามารถสรุปได้ว่า ในแต่ละวันจะมียอดเงินรายรับจากใบส่งสินค้าสูงหรือต่ำกว่ายอดเงินรายจ่ายจากใบรับสินค้า เป็นจำนวนเงินเท่าใด ทำให้สามารถทราบสถานภาพทางการเงินของบริษัทได้

2.โครงสร้างข้อมูล

2.1 Bit (บิท) คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล มี 2 ค่าที่เป็นไปได้คือ 0 และ 1ไม่สามารถที่จะเป็นค่าว่างได้
2.2 Byte (ไบท์) คือ การรวมกันตั้งแต่ 8 bits ซึ่ง 8 bit เท่ากับ 1 byte (1 byte หมายถึง 1 ตัวอักษร)
2.3 Field (ฟิลด์) คือ การนำ Byte มารวมกันแล้วได้ความหมายเกิดเป็นข้อมูลในแนวตั้ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Column”
2.4 Record (เรคคอด) คือ การนำ Field หลาย Field มารวมกันแล้วได้ความหมายเกิดเป็นข้อมูลในแนวนอนเรียกว่าระเบียนหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Row”
2.5 File (ไฟล์) คือการรวมกันของ Record แล้วเกิดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Table”
2.6 Database (ฐานข้อมูล) คือการนำไฟล์หลายๆไฟล์มารวมกันเรียกว่า ฐานข้อมูล
ตัวอย่าง DATA BASE







3.ตัวอย่างแฟ้มข้อมูล









4.ความแตกต่างระหว่างการประมวลผลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

                          การประมวลผลแบบทันที (Real Time Processing) หมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลที่ทำในทันทีที่ข้อมูลถูกส่งเข้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีเพื่อจะได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือควบคุมได้ เช่น การประมวลผลของเครื่องถอนเงินด่วนตามธนาคารต่าง ๆ (ATM) ซึ่งให้บริการการฝากถอน ทำให้ผู้ใช้บริการทราบผลในทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบให้ในทันทีว่า รหัสถูกต้องหรือไม่ มีเงินพอหรือไม่ ฯ ถ้ามีพอ ก็สั่งปฏิบัติการ คือจ่ายเงินให้เลย การจองตั๋วเครื่องบิน ก็มีลักษณะเป็นแบบทันทีนี้เช่นกัน ส่วนการประมวลผลที่ไม่ต้องทำทันที เรียกว่า "การประมวลผลเชิงกลุ่ม" (Batch processing) หมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับ มีระบบปฏิบัติการเป็นตัวควบคุม การประมวลผลแบบนี้ มักจะเป็นงานใหญ่ ๆ จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน จึงจะส่งเข้าประมวลผล คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลให้ตามลำดับก่อนหลัง หรือลำดับความสำคัญ จะเป็นวิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน หรืออาจรอจนกว่าครบตามเวลาที่กำหนด จึงทำการประมวลผลไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผลเดือนละครั้งเท่านั้น เป็นต้น วิธีการนี้ประหยัดกว่า แต่ช้าและไม่ทันใจ



ข้อมูลจาก http://school.obec.go.th/sridonchai/elearning/Detail/unit11.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น