บทที่5 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
      อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ .การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทนการกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)                                              2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)       4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)                   6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker



2. จงอธิบายความหมายของ
      2.1 Hacker
         "แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลที่มีความสนใจในกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์อย่างลึก ซึ้ง แฮกเกอร์ส่วนใหญ่ต้องมีความรู้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์ โดยจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพวกเขามีความใส่ใจที่จะนำความรู้พื้นฐานที่ผู้อื่นมองว่าธรรมดามา ประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ในสังคมดิจิตอลอยู่ตลอดเวลา แฮกเกอร์จะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้นๆ เนื่องจากคอยติดตามข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การกระทำใดๆ ที่เกิดจากการศึกษาของแฮกเกอร์จะต้องแน่ใจแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล"
          2.2 Cracker
        Cracker หมาย ถึง ผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับสูง จนสร้างและแก้ไขระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ Hacker แต่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ไม่ดี เช่น เจาะเข้าเครือข่ายของผู้อื่นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการขโมย password หรือข้อมูลสำคัญ เป็นต้น
          2.3 สแปม
        สแปม (Spam) คือ การส่งอีเมลที่มีข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ การสแปมส่วนใหญ่ทำเพื่อการโฆษณาเชิงพาณิชย์ มักจะเป็นสินค้าที่น่าสงสัย หรือการเสนองานที่ทำให้รายได้อย่างรวดเร็ว หรือบริการที่ก้ำกึ่งผิดกฏหมาย ผู้ส่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการส่งไม่มากนัก แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะตกอยู่กับผู้รับอีเมลนั้น  เมื่อคุณได้รับ อีเมลที่มีหัวข้อเช่น "Make Money from Home" หรือ ?XXX Hot SEXXXY Girls" ถ้าอีเมลเหล่านี้ส่งมาจากคนที่คุณไม่รู้จัก แน่นอนว่าคุณไม่ต้องการรับอีเมลเหล่านี้แน่ ๆ เพราะมันจะทำให้คุณเสียเวลา ค่าใช้จ่าย แบนด์วิดธ์ และพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ในการดาวน์โหลดอีเมลเหล่านี้มาอ่าน ถึงแม้จะไม่มีวิธีที่จะกำจัดอีเมลเหล่านี้ได้ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่คุณก็สามารถทำบางอย่างเพื่อปัองกันจดหมายขยะที่น่ารำคาญเหล่านี้ได้ไซต์ ในอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ ไซต์ที่ได้เงินจากการขายรายชื่อที่อยู่อีเมลให้กับผู้ส่งจดหมายขยะ (spammer) มีเว็ปไซต์หนึ่งที่ขายที่อยู่อีเมล 1 ล้านรายชื่อเพื่อเงินเพียง 59.95 ดอลลาร์ ส่วนอีกเว็ปไซต์หนึ่งขายซีดีที่มีรายชื่ออีเมล 15 ล้านชื่อเพื่อเงิน 120 ดอลลาร์


        2.4 ม้าโทรจัน
           ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมที่สร้างความเสียหายที่หลอกลวงผู้ใช้ว่าตัวมันเป็น (หรืออาจซ่อนอยู่ภายใน) ซอฟแวร์ที่ไม่มีอันตราย อันที่จริงแล้วโปรแกรมประเภทหนอนคอมพิวเตอร์และไวรัสนั้นอาจซ่อนตัวอยู่ในม้าโทรจันก็ได้ ม้าโทรจันนั้นไม่ใช่ไวรัส เพราะมันไม่สามารถสร้างตัวเองได้ใหม่และแพร่กระจายออกไป ได้เหมือนกับที่ไวรัสทำ อย่างไรก็ดีไวรัสในปัจจุบันมีความสามารถหลากหลายมากขึ้น และบางครั้งมันก็ได้รวมเอาการทำงานของโปรแกรมประเภทม้าโทรจัน และหนอนอินเทอร์เน็ตเข้าไปไว้ในตัวมันด้วยครับ
        2.5 สปายแวร์
          Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย

วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1.ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware ตรวจหา Spyware ในเครื่องคอมพิวเตอร์เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.ตรวจ สอบ Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง โปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้ง หากการ Update หรือปรับปรุง {--mlinkarticle=2011--}antivirus program  หรือ Anti-Spyware อย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware ได้เช่นกัน

ข้อมูลอ้างอิง
http://ccs.sut.ac.th
http://xn--12co0b8ctat9bdd7pqd.blogspot.com




 3.จงยกตัวอย่างกฏหมาย ICT หรือ พรบ. คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิด และบทลงโทษ 5ตัวอย่าง
        การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๕ ผู้ ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรกา รป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้ สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       องค์ประกอบความผิดประการแรก คือ การเข้าถึง
ตามเอกสารชี้แจงของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกร รมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้อธิบายประกอบเสนอร่างกฎหม ายต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉ บับนี้ ให้ความหมายว่า
การเข้าถึงตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “access” หมาย ถึง การเข้าถึงทั้งในระดับกายภาพ เช่น กรณีที่มีการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันมิให้บุคคลอื่ นใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้กระทำผิดดำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ ได้รหัสผ่านนั้นมาและสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้ นได้โดยนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และหมายความรวมถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเข้า ถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ แม้ตัวบุคคลที่เข้าถึงจะอยู่ห่างโดยระยะทางกับเครื่อ งคอมพิวเตอร์ แต่สามารถเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ที่ตนต้องการได้  นอกจากนั้นยังหมายถึงการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข ้อมูลคอมพิวเตอร์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ ดังนั้นจึงอาจหมายถึง การเข้าถึงฮาร์ดแวร์ หรือ๙   ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถูกบันทึกเก็บไว้ในระบบเพื่อใช้ในการส่งหรื อโอนถึงอีกบุคคลหนึ่ง เช่นข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ตัวอย่างการกระทำผิดและบทลงโทษ
1 การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
มาตรา ๘ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็ก ทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อย ู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธ ารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบความผิดของมาตรา ๘ คือ
(๑) กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิ กส์ เพื่อดักรับไว้
ตามคำอธิบายของเนคเทคประกอบการเสนอร่างกฎหมายมีดังนี ้
การดักรับข้อมูลในมาตรานี้หมายถึง การดักรับโดยวิธีการทางเทคนิค (technical means) เพื่อลักลอบดักฟัง (listen) ตรวจสอบ (monitoring) หรือติดตามเนื้อหาสาระของข่าวสาร (surveillance) ที่สื่อสารถึงกันระหว่างบุคคล หรือเป็นการ๑๒  กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยตรงหรือโด ยการเข้าถึงและใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือการทำให้ได้มาซึ่งเนื้อหาของข้อมูลโดยทางอ้อมด้ว ยการแอบบันทึกข้อมูลสื่อสารถึงกันด้วยอุปกรณ์อิเล็กท รอนิกส์ โดยไม่คำนึงว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกข้อ มูลดังกล่าวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสำหรับส่ งผ่านข้อมูลหรือไม่เพราะบางกรณีอาจใช้อุปกรณ์เช่นว่า นั้นเพื่อบันทึกการสื่อสารข้อมูลที่ได้ส่งผ่านด้วยวิ ธีการแบบไร้สายก็ได้ เช่นการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การติดต่อโดยใช้เทคโนโลยีไร้สายประเภท wireless LAN เป็นต้น ซึ่งนอกจาการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อบันทึกข้อ มูลที่มีการส่งผ่านกันแล้ว ยังรวมถึงกรณีการใช้ซอฟต์แวร์ หรือรหัสผ่านต่างๆ เพื่อทำการแอบบันทึกข้อมูลที่ส่งผ่านถึงกันด้วย ต้องอย่าลืมว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ผู้กระทำได้กระทำไป โดยมิชอบด้วย ซึ่งหมายถึงการไม่มีอำนาจกระทำ ดังนั้น ถ้าผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ไม่ว่าโดยกฎหมายหรือ โดยการอนุญาตของเจ้าของสิทธิ ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิด
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในร ะบบคอมพิวเตอร์
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนี้จะต้องเป็นข ้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงไม่หมายความรวมถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่จัด เก็บในรูปแบบซีดี หรือดิสเกตต์
(๓) ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณ ะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้
การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้มีไว้เพื่อประโยชน ์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้หรือไ ม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงว่าลักษณะการส่งข้อมูลคอมพ ิวเตอร์ดังกล่าวนั้นผู้ส่งต้องการให้เป็นเรื่องเฉพาะ ตนไม่ได้ต้องการให้เปิดเผยข้อมูลนั้นแก่ผู้ใดหรือไม่  การพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีไว้เพื่อประโยชน์ สาธารณะจึงต้องพิจารณาจากการมีการเข้ารหัสการเข้าถึง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเพียงใด
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะพิจารณาจากเนื้อหาของข้อ มูลว่าเป็นความลับหรือไม่ เช่น เนื้อหาของข้อมูลอาจเป็นเรื่องความลับทางการค้า แต่หากผู้ส่งใช้วิธีการส่งที่ไม่มีมาตรการป้องกันการ เข้าถึงข้อมูลนั้น ผู้ที่ดักรับย่อมไม่มีความผิด
(๔) โดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
หมายถึงเจตนาในการกระทำความผิด ๑๓ วัตถุประสงค์ของมาตรา ๘ คือ เพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสา ร (the right of privacy of data communication) ทำนองเดียวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตั วในการติดต่อสื่อสารรูปแบบที่ห้ามดักฟังหรือแอบบันทึ กการสนทนาทางโทรศัพท์



 2 การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๙ ผู้ ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรานี้หมายถึงการกระทำอันเป็นการรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีองค์ประกอบความผิด คือ
(๑) กระทำการอันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมโดยมิชอบ
องค์ประกอบข้อนี้ใช้ถ้อยคำซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ คือคำว่า ทำให้เสียหายและ ทำลายแต่ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปลอมนั้น มาตรานี้ไม่ได้ยกองค์ประกอบของความผิดฐานปลอมเอกสารม า แต่เขียนองค์ประกอบให้ชัดเจนว่าเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม ซึ่งเป็นคำสามัญที่เข้าใจได้และแน่นอนว่าต้องคงองค์ประกอบความผิดในเรื่อง โดยมิชอบไว้เสมอ เพราะมีกรณีจำนวนมากที่ผู้กระทำมีอำนาจและสิทธิที่จะ เข้าไปแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
(๒) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
ความหมายของ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อยู่ในนิยามศัพท์ และจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
(๓) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙
ความผิดตามมาตรา ๙ มุ่งจะคุ้มครองความถูกต้องของข้อมูล (integrity) ความถูกต้องแท้จริง (authentication) และเสถียรภาพหรือความพร้อมในการใช้งานหรือการใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกเก็บไว้บนสื่อคอมพิวเตอร์ได้อย่าง๑๔  เป็นปกติจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียว กับสิ่งของที่สามารถจับต้องได้ (corporeal object)
ตัวอย่างของการกระทำความผิดตามมาตรานี้ ได้แก่ การป้อนโปรแกรมที่มีไวรัส ทำลายข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการป้อน Trojan Horse เข้าไปในระบบเพื่อขโมยรหัสผ่านของผู้ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเพื่อเข้าไปลบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนข้อมูล เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าการกระทำความผิดตามมาตรานี้มี องค์ประกอบความผิดที่สำคัญคือ โดยมิชอบดัง นั้นหากเป็นการกระทำของบุคคลผู้มีสิทธิโดยชอบก็จะ ไม่เป็นความผิด เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (traffic data) เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารแบบไม่ระบุชื่อ ตัวอย่างเช่น การสื่อสารผ่านระบบ anonymous remailer system หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพื่อการรักษาความลับและความปลอดภัยของการสื่อสาร อาทิ การเข้ารหัสข้อมูล (encryption) เป็นต้น


3 การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานตามปกติได้
            มาตรา ๑๐ ผู้ ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดตามมาตรา ๑๐ นี้ มีวัตถุประสงค์และองค์ประกอบความผิดคล้ายคลึงกับมาตร า ๙ เพียงแต่เปลี่ยนวัตถุแห่งการถูกกระทำจาก ข้อมูลคอมพิวเตอร์เป็น ระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบความผิด คือ
(๑) กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ
(๒) มีเจตนาพิเศษเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้
        มีข้อสังเกตว่า องค์ประกอบความผิดข้อที่ (๑) นั้นเป็นเรื่องการกระทำใดๆ ก็ได้ซึ่งกินความหมายกว้างขวางมาก กฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงควรหมายถึงการเข้าไปทำกับระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้นหรือไม่ ๑๕
หรือจะหมายถึงการกระทำทางกายภาพอื่นๆ เช่น การระเบิด การวินาศกรรมเพื่อให้มีผลทำลายการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ด้วย เท่าที่มีการอภิปรายกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการเป็นไปในแนวทางเดียวกันที่จะให้ขยายรวมถึงการกระทำทาง กายภาพ (physical) ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วย องค์ประกอบความผิดข้อที่ (๒) มุ่งถึงเจตนาพิเศษของผู้กระทำเป็นสำคัญ จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ผู้กระทำได้กระทำไปเพื่อค้นหาเจตนาพิเศษดังกล่าวตามหลัก กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาส่วนถ้อยคำที่ว่า จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ย่อม หมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถทำงานได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้นถึงแม้ว่าระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ แต่เป็นการทำงานที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดปกติไป (malfunctioning) ก็ย่อมอยู่ในความหมายของถ้อยคำอันเป็นองค์ประกอบความ ผิดนี้แล้ว ตัวอย่างของการกระทำความผิดตามมาตรานี้ อาทิเช่น การป้อนโปรแกรมที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ปฏิเสธการทำงา น (denial of service) หรือทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลงโดยการป้อนไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดผลชะลอการทำงานของระบบเป็น ต้น อย่างไรก็ตาม หากผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีอำนาจหรือสิทธิโดยชอบย่อม ไม่เป็นความผิดเพราะไม่เข้าองค์ประกอบความผิดที่ว่า โดยมิชอบดัง เช่น การทดสอบหรือรักษาความมั่นคงเพื่อความปลอดภัยของระบบ คอมพิวเตอร์โดยบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้เป็นเจ้า ของระบบคอมพิวเตอร์ (owner) หรือผู้ปฏิบัติการ (operator) หรือการปรับแก้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ของคอมพิวเตอร์โดยผู้ปฏิบัติการ (operator) ก่อนติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึงจะมีผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานไม่เป็นปกติทั้งก่อน และหลังการติดตั้งโปรแกรม


4 ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบ บุคคลอื่นโดยปกติสุข
         มาตรา ๑๑ ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่ง ข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ๑๖
ความผิดตามมาตรา ๑๑ นี้ คณะกรรมาธิการเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่เป็นการบัญญัติเอาผิดแก่การกระทำที่ไม่ถึงกับทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นไม่สามารถทำงานตามปกติได้ แต่เป็นการทำให้เกิดการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข เช่นส่ง e-mail มากจนล้นระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นจนทำให้เกิดความ ยุ่งยากในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของเขา ภาษาอังกฤษเรียกว่า “spamming” องค์ประกอบความผิดของมาตรานี้คือ
(๑) ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ความจริงแล้ว จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-mail ก็อยู่ในความหมายของ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วตามนิยามศัพท์ แต่คณะกรรมาธิการต้องการให้ชัดเจนเพื่อเป็นการเตือนใ ห้เข้าใจในความหมายขององค์ประกอบความผิดฐานนี้
(๒) โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล
องค์ประกอบความผิดนี้สำคัญมากเพราะไม่ใช่เรื่อง โดยมิชอบเหมือนกับความผิดตามมาตราอื่นๆ ในพระราชบัญญัตินี้ แต่เป็นเรื่องปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล
ขอย้ำว่าการปกปิดหรือปลอมแปลงนี้ต้องเป็นเรื่องของ แหล่งที่มาของการส่งข้อมูลซึ่งตรวจสอบได้โดย ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ได้แก่ การปกปิดหรือปลอมแปลง IP address และหมายถึงการกระทำที่ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบถึงแหล่ง ที่มาของการส่งข้อมูลและส่งผลให้ไม่อาจตรวจสอบได้ทาง ระบบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จึงไม่ใช่เรื่องการปกปิดหรือปลอมแปลงโดยการไม่ใช้ชื่อจริง หรือการเปลี่ยนแปลงใช้ชื่อหรือใช้นามแฝง หรือใช้ email-address ที่ผิดไปหรือเปลี่ยนแปลงไปซึ่งยังตรวจสอบแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลได้อยู่   ความหมายของ การปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ มีการอภิปรายและชี้แจงเพื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ชัดเจนในการอภิปรายของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้ในวาระที่ ๒ ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐
(๓) อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
องค์ประกอบความผิดข้อนี้ คณะกรรมาธิการเขียนล้อกับองค์ประกอบความผิดฐานบุกรุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒ ดังนั้นจึงน่าจะมีความรุนแรงของการรบกวนพอสมควร ซึ่งต้องใช้มาตรฐานของวิญญูชนเป็นระดับวัดเป็นการพิจารณาแบบ objective มิใช่พิจารณาตามความเป็นจริงแบบ subjective ๑๗
ข้อสังเกตสำหรับความผิดตามมาตรานี้ ก็คือเป็นบทบัญญัติที่มีโทษปรับสถานเดียวและไม่มีโทษ จำคุก จึงถือว่าเป็นโทษที่ค่อนข้างเบา ในประเด็นที่เทียบเคียงกับความผิดฐานบุกรุกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คณะกรรมาธิการเห็นว่าความผิดตามมาตรา ๑๒ เรื่อง spamming นี้มักจะไม่ทำกับผู้เสียหายคนเดียว แต่มักจะทำในวงกว้าง หากกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้จะมีปัญหาเกี่ยว กับการร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีซึ่งมีผู้เสียหายจำนวน มาก จึงไม่ได้กำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้

5. ตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
มาตรา ๑๖ ผู้ ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยสุจริต ผกระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ๒๗
ความผิดตามมาตรา ๑๖ นี้เป็นลักษณะของการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทด้วยการตก แต่งภาพของบุคคลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด มีองค์ประกอบความผิด ดังนี้
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง ได้
หมายความว่า ผู้กระทำได้มีการกระทำอันเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบคอมพิวเตอร์นั้นเป็นระบบที่ประชาชนทั่วไปอาจเ ข้าถึงได้ ถ้าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองก็ไม่เป็นความผิด
(๒) ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธ ีการอื่นใด
องค์ประกอบความผิดข้อนี้ต้องเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที ่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น หมายถึงการแสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกเป็นภาพของบุคคล และภาพนั้นอาจเกิดจากการสร้างขึ้นใหม่ หรือเป็นภาพที่มีอยู่แต่ได้มีการตัดต่อ เติมหรือดัดแปลง ซึ่งเป็นการทำด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด
คำว่า วิธีการอื่นใดเขียน ไว้เพื่อให้ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพบุคคลนั้นด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ จึงไม่น่าจะหมายความรวมถึงการตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงภาพบุคคลซึ่งเป็น printout จากคอมพิวเตอร์



(๓) โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

องค์ประกอบความผิดข้อนี้ใช้ข้อความทำนองเดียวกับความ ผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ แต่เพิ่มคำว่า ได้รับความอับอายเข้าไปด้วย จึงมีความหมายกว้างกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาท

(๔) เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙

หมายถึงเจตนาในการนำภาพบุคคลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
การนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริตไม่เป็นความผิด การกระทำใดเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริตน่าจะพิจารณาเทียบได้กับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต...ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท๒๘ ข้อสังเกตประการต่อไปสำหรับความผิดตามมาตรา ๑๖ ก็คือความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดมาตราเดียวที่บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นได้ชัดเจนว่าความเสียหายที่เกิด ขึ้นนั้นเป็นความเสียหายเฉพาะบุคคล เมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้ กฎหมายจึงต้องบัญญัติในเรื่องผู้เสียหายไว้ในลักษณะทำนองเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๓ ดังปรากฏความในวรรคสี่ ดังนี้ ถ้า ผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น