บทที่4 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1  สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายโคแอ็กเชียล
ข้อดี
1. เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล 500 เมตร(สำหรับ Thick coaxial cable)
2. ลดสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ดี
3. ป้องกันการสะท้อนกลับ (Echo) ได้ดี
ข้อเสีย
1. ราคาแพง
2. สายมีขนาดใหญ่
3. ติดตั้ง Connector ยาก

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายเส้นใยนำแสง
ข้อดี
1.ส่งข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็วสูง(Bandwidth มาก)
2. ส่งได้ระยะทางไกล สัญญาณอ่อนกำลังยาก
3. ไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีข้อผิดพลาดน้อย
4. มีความปลอดภัยสูง
5. ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
6. มีความทนทาน สามารถติดตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากได้
7. ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าสายทองแดง ถ้าใช้งานในระยะทางไกล

ข้อเสีย

1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
2. การเดินสายจำเป็นต้องระมัดระวังอย่าให้มีความโค้งงอมาก
3. ค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับสายทั่วไป
4. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
1. ราคาถูก
2. ง่ายต่อการนำไปใช้งาน

ข้อเสีย
1. ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำเมื่อเทียบกับสื่อประเภทอื่น
2. ใช้ได้ในระยะทางสั้นๆ
3. ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน จะไวต่อสัญญาณสัญญาณรบกวน (Noise)      









2       ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่ายในองค์กร
ระบบเครือข่ายมีประโยชน์หลายอย่าง แต่มี 4 อย่างหลักๆ คือ
1)       การใช้งานพร้อมกัน หมายถึง ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
ในระบบธุรกิจ  งานบางอย่างต้องให้พนักงานหลายๆ คนใช้ข้อมูลได้พร้อมๆ กัน ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รายงานสรุปยอดขายของบริษัทประจำไตรมาส ซึ่งจะต้องถูกเรียกดูและแก้ไขจากผู้จัดการหลายๆ คน ถ้าในระบบธุรกิจนั้นไม่มีระบบเครือข่ายแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องแยกเก็บข้อมูลไว้ใช้ ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่เครื่องอื่นๆ จะไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้นข้อมูลแต่ละเครื่องจะไม่สอดคล้องกัน
ระบบธุรกิจจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยการเก็บข้อมูลที่อนุญาตให้ผู้ใช้มากกว่าหนึ่งคนเข้าถึงข้อมูลได้ไว้ที่เน็ตเวิร์กเซิร์ฟเวอร์ (Network Server) ซึ่งเครื่องกลางนี้ต้องมีหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกันได้
2)       การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน หมายถึง ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
3)       การสื่อสารส่วนบุคคล  หมายถึง ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการสื่อสารที่เป็นที่นิยมก็คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ e-mail) เป็นระบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อความผ่านระบบเครือข่าย อีเมล์เหมือนกับเป็นการรวมการทำงานของระบบไปรษณีย์กับระบบตอบรับโทรศัพท์
4)       การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น  หมายถึง ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย
3      เครือข่าย LAN TOPOLOGY
เลือกโทโปโลยีแบบบัส
โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
  • ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • สามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
  • อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อบนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
  • การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

4ข้อดีของอินเตอร์เน็ทด้านการศึกษา
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น



http://www.kruchanpen.com/network/basic.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น